TAX KNOWLEDGE :การหักค่าเสื่อมราคา กับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

ในแต่ละปีสำหรับการดำเนินธุรกิจของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดย
การนำรายได้มาหักจากค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักออกจากรายได้ก็คือ "ค่าสึก
หรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน"
ที่เกิดจากการนำทรัพย์สินถาวรเข้ามาใช้ในกิจการ แล้วปันส่วนมูลค่าการใช้งานของทรัพย์สินไปเป็น
ค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ในแต่ละปีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะมีมูลค่าของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินค่อนข้างสูง
ที่จะมีผลทำให้กิจการมีค่าใช้จ่ายสูงไปด้วยและมีผลทำให้กำไรสุทธิของกิจการลดลง

หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลือกวิธีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้เหมาะสมกับทรัพย์สินก็จะทำให้กิจการได้รับสิทธิ
ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น การเลือกวิธีลดยอดทวีคูณหรือวิธีผลรวมจำนวนปี แทนที่จะใช้วิธีเส้นตรง หากในปีแรก ๆ ของกิจการมีกำไรสูง
เมื่อเลือกค่าเสื่อมราคาที่เหมาะสมก็จะทำให้กิจการมีกำไรสุทธิลดลงเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงไปด้วย

อีกวิธีการหนึ่งในการบริหารค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาก็คือการเลือกสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรหากเข้าหลักเกณฑ์ของธุรกิจ
ขนาดย่อมที่ประมวลรัษฎากรได้ให้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้สูงขึ้นในปีแรก และปีต่อไปมูลค่าของค่าสึกหรอและค่าเสื่อม
ราคาก็จะลดลง ทำให้ปีแรกนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกำไรลดลงได้ หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิประโยชน์นี้ประมวลรัษฎากรได้กำหนด
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้มากขึ้นมีดังนี้

1. ต้องมีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท
การพิจารณาการมีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท อันเป็นเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะสามารถใช้สิทธิหักค่าสึกหรอ
และค่าเสื่อมราคาต้องพิจารณาจากมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรของกิจการนั้น ตลอดทั้งปีซึ่งจะต้องมีสินทรัพย์ถาวร ไม่รวมที่ดิน ตลอดระยะ
เวลา บัญชีที่จะใช้สิทธิในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

2. ต้องมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

การพิจารณาการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน อันเป็นเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะสามารถใช้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
ต้องพิจารณาจากจำนวนลูกจ้างจริงของกิจการนั้นตลอดทั้งปีซึ่งจะต้องมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คนตลอดระยะเวลาบัญชีที่จะใช้
สิทธิในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นประมวลรัษฎากรให้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้สูง
กว่าผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นดังต่อไปนี้

1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์

ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ
ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วย หรือเครื่องประ
กอบกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ แต่ไม่รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อม
ราคาของทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์
เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองให้หักได้ดังต่อไปนี้

(1) ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็ม 12 เดือน ให้เฉลี่ยตาม
ส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้

(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุนสำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือ
ให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ใน (1)

2. อาคารโรงงาน

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงานที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่ง
ไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการ
ของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้น
ทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ไม่เกิน 5% ต่อปี

3. เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการ
ประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน
สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ไม่เกิน 20% ต่อปี

นักบัญชี หรือ ผู้บริหารของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ควรจะต้องมีการวางแผนภาษีหรือบริหารภาษีอากรในการเลือกวิธี
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรให้เกิดประโยชน์ต่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ
เนื่องจากค่าสึกหรอ และ ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรที่จะมีผลทำให้กำไรสุทธิของกิจการลดลงเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ลดลงอีกด้วย

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9490000048817