การขอจดทะเบียนผู้ประกอบการ e-commerce

'อินเทอร์เน็ต' ถือเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ล้ำยุคและนิยมใช้กันมากอยู่ในขณะนี้ กิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในโลกบนจอ
สี่เหลี่ยม จนมีคำเปรียบเปรยขึ้นว่า
"มีอินเทอร์เน็ตก็เหมือนย่อโลกทั้งใบมาไว้ที่เดียวกัน" และด้วยเหตุผลนี้เอง จึงเกิดช่องทาง
ของธุรกิจในโลกอินเทอร์เน็ตขึ้นมากมาย


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะสามารถทำการติดต่อค้าขายได้อย่างอิสระและกว้างไกล สร้างให้เกิดรายได้ที่งดงาม มีความสะดวกสบาย
มากขึ้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน เพราะไม่สามารถตรวจสอบ ควบคุมมาตรฐาน
สินค้าและการบริการ หรือข้อมูล หลักฐานของผู้ประกอบการพาณิชย์นั้นๆ ได้เลย


สำหรับในประเทศไทยก็เริ่มนิยมใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ทั้งในแง่บันเทิง ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์จึงได้จัดตั้งสำนักงาน
ทะเบียนพาณิชย์ขึ้น เพื่อจัดทำระเบียนบุคคล เก็บรวมรวบสถิติตัวเลข และข้อมูลของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(
E-Commerce) อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการทำธุรกรรมต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และเป็นศูนย์
กลางด้านข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
อีกด้วย


นอกจากนี้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มาจดทะเบียน ยังจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เช่น ได้รับสิทธิพิเศษด้านการตลาด ด้าน
E-Marketplace, ได้เผยแพร่ข่าวสารข้อมูล, ได้รับการส่งเสริมในการขอใช้เครื่องหมาย
Trust mark และการจัดหัวข้อการอบรมสัมมนาตามที่กลุ่มผู้ประกอบการต้องการ

กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ประกอบ
กิจการในเชิงพาณิชย์ที่มีลักษณะดังนี้


1. บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การสั่งซื้อสินค้า การสมัคร
สมาชิกที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย การดาวน์โหลดโปรแกรม บริการเกมออนไลน์ เว็บไซต์ที่รับจ้างโฆษณาสินค้าและบริการให้ผู้อื่น
หรือธุรกิจอื่นๆ ที่ติดต่อซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์


2. ให้บริการชั่วโมงอินเทอร์เน็ต

3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เช่น sanook.com, yahoo.com เป็นต้น

และ 4. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(
E-Marketplace) เช่น thailand.com, softwarelink.co.th, pop.co.th และมีการยกเว้นบางเว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่

1. เว็บไซต์ที่มีเฉพาะหน้าร้าน หรือเพื่อการโฆษณาสินค้าของตัวเอง ที่ทำการค้าทางช่องทางปกติ (ไม่ใช่ทางอินเทอร์เน็ต) แม้จะ
มีป้ายโฆษณา (
banner) ของผู้อื่นมาติด และมีรายได้จากการให้ติดป้ายโฆษณา ยกเว้นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียง
โฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต


2. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน, ประกาศ
รับสมัครงาน
, เว็บไซต์ที่เสนอข่าวประจำวัน, เว็บไซต์ส่วนตัว ซึ่งนอกจากเว็บไซต์ที่มีลักษณะดังกล่าวแล้ว ร้านที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) หรือเกมคอมพิวเตอร์ ก็ไม่ต้องจดทะเบียน เพราะเป็นเสมือนร้านค้าทั่วไปที่ทำการค้าขายในช่องทางปกติ

โดยทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป ทั้งผู้ประกอบการที่มีกิจการเดิมอยู่แล้วและผู้ประกอบการใหม่ซึ่ง
เมื่อได้จดทะเบียนแล้วผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย
และแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ หรือระบุเลขทะเบียนพาณิชย์ไว้บนเว็บไซต์หรือโฮมเพจด้วย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเอง


สำหรับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ยื่นจดทะเบียนจะมีโทษตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 มาตรา 19 คือ
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
2,000 บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งการยื่นขอจดทะเบียน
ในเขตกรุงเทพฯ สามารถทำได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ หรือส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า ส่วนในต่างจังหวัดให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าในจังหวัดนั้นๆ เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่
1.
คำขอจดทะเบียนพาณิชย์(แบบ ทพ.) 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

หากมีข้อสงสัยหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-5959
(-61) หรือ 0-2547-5050 ต่อ 3191 หรือ http://www.dbd.go.th

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์